Page 10 - 2
P. 10
2 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
“พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551” เน้นความสำคัญของการจัดการอาชีวศึกษา
และการฝึกอบรมวิชาชีพให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษา
แห่งชาติ เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิคและระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเพื่อ
ยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมไปถึงการ
เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานในกลุ่มประชาคมอาเซียนและนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา
ศักยภาพในการแข่งขันและสามารถเข้าสู่การเปิดเสรีทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต จึงได้
กำหนดนโยบายในการยกระดับทักษะฝีมือและเตรียมความพร้อมแก่กลุ่มเป้าหมายให้มีสมรรถนะที่ได้
มาตรฐานสากล สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการผลิตสินค้าและบริการที่
มีการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพ ปริมาณและระยะเวลาในการผลิต โดยพัฒนาระบบการจัดการอาชีวศึกษา
ตามแรงขับจากผู้ใช้ “Demand Driven” ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือ
สถาบันกับสถานประกอบการซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้ผลผลิตของอาชีวศึกษา เพื่อผลิตกำลังคนตามความ
ต้องการของตลาดแรงงาน นำความรู้ในทางทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาผู้รับ
การศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติ และมีสมรรถนะจนสามารถนำไป
ประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพโดยอิสระได้
เนื่องจากการจัดการอาชีวศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ ประกอบกับ
่
พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ต้องการ
ให้มีการกระจายอำนาจทางวิชาการสู่สถานศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัว
ในการบริหารจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
อาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เพื่อเปิดโอกาสให้สถานศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษา สามารถ
พัฒนาหลักสูตรได้เอง โดยยึดเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาและมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพตาม
ระดับคุณวุฒิและสาขาวิชา ในการพัฒนาหลักสูตรการอาชีวศึกษาในรูปแบบอาศัยแรงขับจากผู้ใช้ ทั้งนี้
หลักสูตรที่จะพัฒนาจะต้องเป็นหลักสูตรแบบฐานสมรรถนะ “Competency Based Curriculum” ซึ่ง
นำสมรรถนะที่ผู้ประกอบอาชีพปฏิบัติจริงในงานอาชีพจากมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสมรรถนะ
มาพัฒนาเป็นหลักสูตรการอาชีวศึกษา เพื่อจัดการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการให้ผู้สำเร็จการศึกษา
มีสมรรถนะวิชาชีพที่ตรงกับสมรรถนะอาชีพและสามารถประกอบอาชีพได้ทันที
ดังนั้นคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะทั้งระดับส่วนกลางและระดับสถานศึกษา
จึงต้องเข้าใจถึงมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเมื่อมีการนำหลักสูตรไปใช้ก็จะต้องดำเนินการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดด้วย